วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561

แมวพันธุ์วิเชียรมาศ

แมวพันธุ์วิเชียรมาศ (Siamese)


      จากครั้งที่แล้วพูดถึงแมวบาหลีกันไปแล้ว  คราวนี้มารู้จักต้นกำเนิดของมันกันดีกว่าก็คือแมววิเชียรมาศอันสวยงามของไทยเรานี่เอง  เป็นแมวไทยที่ดังมากในต่างประเทศ  และถือเป็นต้นตำรับของการผสมพันธุ์แมวพันธุ์ใหม่ ๆ ด้วย เท่าที่รู้ ๆ ก็คือแมวบาหลีอย่างที่กล่าวไปและแมวหิมาลายันด้วยค่ะ

  • ถิ่นกำเนิด  ประเทศไทย  เป็นแมวโบราณที่มักเลี้ยงไว้ในวังตั้งแต่สมัยอยุธยา  เพราะเชื่อว่าแมวพันธุ์นี้เป็นแมวมงคล  มักกล่าวว่าแมวมงคลคนธรรมดาสามัญชนไม่สามารถเลี้ยงได้ เมื่อสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 แมวไทย17ชนิดในพระราชวังของกรุงศรีอยุธา ได้ถูกพวกพม่า และเชลย ได้นำไปพม่า เพราะพม่าคิดว่า แมวไทยคือทรัพย์สินที่มีค่าชนิดนึงเนื่องจากแมวไทยในอยุธยาสามารถซื้อขายได้ถึง 1แสนตำลึงทอง หากใครมีแมวชนิดนี้จึงนำมาขายแก่วัง ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้แมวไทยสูญพันธุ์ หลังจากนั้น แมววิเชียรมาศก็สาบสูญหายไปจากประเทศไทย ต่อมา สมเด็จพุฒาจารย์ พุทธสโร ได้ไปเที่ยวกรุงศรีอยุธยาร้าง แล้วไปเจอสมุดข่อยที่ไม่ถูกเผา จึงนำสมุดข่อยกลับมา แล้วให้คนไปไล่ต้อนจับแมววิเชียรมาศ จนได้แมววิเชียรมาศกลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง
ลักษณะ   ลักษณะที่เป็นข้อเด่น

 ลักษณะสีขน : ขนสั้นแน่นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ (ทั้งแมวเพศผู้และแมวเพศเมีย) รวม 9 แห่ง ขณะที่อายุยังน้อย หรือเป็นลูกแมว สีขนจะออกสีครีมอ่อนๆ หรือขาวนวล พอโตขึ้นสีจะค่อยๆ เข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาด)

ลักษณะของส่วนหัว : รูปหัวไม่กลม หรือแหลมเกินไป หน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหั            ลักษณะของนัยน์ตา : ตามีสีฟ้า
ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว

ลักษณะที่เป็นข้อด้อย   ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้ง 9 แห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่นๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น